วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Webiz 06-A ดีไซน์


ในบทที่แ้ล้วเป็นเรื่องของการเลือกรูปแบบการจัดหน้า (เลย์เอาท์)
และการเลือก "ธีมส์สำเร็จรูป" ที่ผู้ใช้งานแค่ต้องเปลี่ยนเอาโลโก้ของคุณเองอัพโหลดขึ้นไปอย่างเดียว

ในบทนี้จะเป็นเรื่องที่ยังเกี่ยวข้องกับบทก่อนหน้าอยู่ครับ
เพราะเป็นเรื่องของ "การสร้างธีมส์ของตัวเอง" ขึ้นมาใช้งาน
เพราะธีมส์ของเว็บไซต์ระบบเว็บบิสจะเป็นเรื่องของ -ภาพพื้นหลัง, แบบและสีของตัวอักษร-


  • สิ่งที่จำเป็นต้องทำที่สุดหลังจากได้รับเว็บไซต์มาแล้ว ก็คือการ "ใส่โลโก้ของคุณเองเข้าไป"
  • การเปลี่ยนโลโก้เท่านั้นที่จะลบโลโก้คำว่า "LOGO" ในระบบเว็บบิสออกได้ (แสดงผลแทน)
(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)


เพราะฉะนั้นเราจะแนะนำวิธีเปลี่ยนโลโก้กันก่อนเลยครับ

A.เข้าไปที่ "ดีไซน์" 


B.หากพบว่าโลโก้เด้งกลับเป็นแบบเดิม
      ไม่ต้องตกใจครับ ปัญหาอาจมาจาก "แคช" (cache) ของเบราเซอร์เองได้ครับ
       คุณอาจลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  • ออกจากระบบเว็บบิสและปิดเบราเซอร์
  • สั่งเคลียร์แคชในเบราเซอร์ แล้วลองเข้าเว็บไซต์ของคุณแบบปรกติ (ไม่ล็อกอินเข้าระบบ)
  • ถ้ายังพบว่าเป็นโลโก้ตั้งต้นอยู่เช่นเดิม ให้ปิดเบราเซอร์และเคลียร์แคชอีกครั้ง โดยที่คราวนี้ให้ตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
  • แล้วเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตใหม่ เปิดเบราเซอร์ และเข้าหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งครั้งนี้ควรจะเป็นโลโก้ของคุณ
  • ถ้าท่านใดพบว่า "ไม่".... โกออนไลน์ไกด์แนะนำให้ท่านดำเนินตามวิธีข้อ A.เป็นจำนวน 2 ครั้ง -เสมอ- ในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนโลโก้และภาพพื้นหลังครับ

กรณีใส่โลโก้ลักษณะ "แบนเนอร์" (Banner)
จากที่เราทดสอบทำแบนเนอร์สีพื้น กว้าง 1080 พิกเซลอัพโหลดเข้าไป
พบว่ามีการแสดงผลจริงในระบบเว็บบิสเพียง 960 พิกเซลเหนือเลย์เอาท์ครับ
...ก็คือจะกว้างประมาณหน้าเลย์เอาท์นั่นเอง
เพราะฉะนั้นท่านใดต้องการทำแบนเนอร์คาดทั้งหน้าเว็บ
ก็ให้ทำไฟล์ให้มีความกว้างไม่เกิน 960 พิกเซลนะครับ.


ต่อไปคือคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง "ภาพพื้นหลัง"
  • สีและองค์ประกอบในภาพ บริเวณที่ต้องถูกใช้เป็น "พื้นรองตัวอักษร" ....ไม่ควรมีลวดลายมากนัก และโทนสีไม่ควรต่างกันจนเกินไป เพราะตัวอักษรอาจถึงขั้น "อ่านไม่ออก" ได้ครับ
  • การสั่งเบลอภาพพื้นหลัง อาจช่วยให้ตัวอักษรอ่านง่ายขึ้นในบางกรณี
  • ถ้าต้องการสีเรียบๆ คุณสามารถเลือกสั่ง "ลบรูปพื้นหลัง" ได้ครับ
A.ที่ "ดีไซน์".....


3a - กำหนดค่าความกว้างพื้นหลัง ไม่จำกัด เพื่อรองรับการตั้งค่าจอภาพที่ค่อนข้างกว้าง
ของลูกค้าบางท่านได้ครับ .......หรือกำหนดเป็นค่าตายตัวที่ตัวเลือก 1024px หรือ 1280px
ซึ่งท่านอาจเตรียมภาพที่มีความกว้างเท่ากับค่าตายตัวนี้แล้วอัพโหลดขึ้นไปก็ได้ครับ

3b - ตำแหน่งของพื้นหลัง หากท่านใช้ภาพที่ใหญ่และตั้งค่าข้อ 3a ไว้ที่-ไม่จำกัด-
ตรงนี้จะเป็นการเลือกให้ระบบจัดดึงบริเวณใดๆ ของภาพ มาเป็นการแสดงผลครับ
ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้เลือกตำแหน่ง "พื้นรองตัวอักษร" ที่เหมาะสมให้กับหน้าเว็บอีกทางหนึ่ง

3c - repeat พื้นหลัง หากท่านมีซึ่ง "หมวดสินค้า" อยู่เป็นจำนวนมาก
หรือบทความที่เขียนไว้ค่อนข้างยาวในบางหน้า.... ท่านอาจพบว่าด้านล่างของเว็บ
กลายเป็นพื้นที่เปล่าๆ เมื่อเข้าหน้าสินค้าหรือบทความดังกล่าว
.....เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ท่านอาจใส่ภาพพื้นหลังที่มีพื้นที่แนวตั้งสูงมากขึ้น แล้วสั่ง "no-repeat"
.....หรือสั่ง "repeat" ที่ส่วนนี้ เพื่อให้ระบบดึงภาพพื้นหลังเดียวมาต่อกันได้ครับ

3d - ทำให้พื้นหลังอยู่กับที่ เลือก "ใช่" จะทำให้ภาพพื้นหลังที่ใส่เข้าไปนั้นแสดงตำแหน่งเดียว
ไม่ขยับเลื่อนไปตามการเลื่อนหน้าเว็บขึ้น-ลงของผู้ชม (มีเพียงยกหน้าเลย์เอาท์ที่เลื่อนไป-มาได้)
....เลือก "ไม่ใช่" จะทำให้เวลาที่ผู้ชมเลื่อนหน้าเว็บขึ้น-ลง พื้นหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงการมองเ็ห็น
ต่อผู้ชมไปตามระยะที่เลื่อนด้วย

3e - ไม่อนุญาตการคลิกขวา ติ๊กถูกในเช็คบ๊อกซ์ เพื่อป้องกันการคัดลอกบทความบนหน้าเว็บไซต์ได้ครับ


B.หากพบว่าภาพพื้นหลังยังไม่เปลี่ยน ให้ทำตามข้อ B.ด้านบนครับ




เรื่อง "ตัวอักษร"
ขออนุญาตต่ออีกตอนนะครับ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เคารพสิทธิผู้อื่น และอยู่ในกรอบพรบ.ICT เชิญครับ.