วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ออกแบบเว็บไซต์จากมุมลูกค้า 01 เล่าที่มา..หาที่ไป


ความยากในการจ่ายเงิน ดูเหมือนจะเป็นประเด็นหลัก
กว่าการที่ลูกค้าคิดว่าสินค้าจะถูกส่งมาได้อย่างไรด้วยซ้ำ.....
.....การที่จะรับสินค้าได้ยังไงนั้น มักเป็นความวิตกในลำดับถัดไปเมื่อลูกค้ากำลังพินิจพิจารณาเว็บไซต์หนึ่งๆ
เมื่อลำดับทั้งสองผ่านพ้น การคิดเพื่อตัดสินใจจะวกกลับมาที่ขั้นปฏิบัติของประเด็นแรก
เราพบว่า "การโอนเงินทางบัญชีเงินฝากธนาคาร" ยังเป็นวิธีที่ถูกใช้มากที่สุดสำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย

....ลูกค้าส่วนใหญ่มักให้เหตุผลว่า "มันใกล้เคียงการจ่ายเงินสดที่สุดแล้ว" .......นั่นเอง
ซึ่งนี่เป็นที่มาของการที่บอกต่อๆ กันในหมู่ผู้ค้าว่า การให้เลขที่บัญชีอย่างเปิดเผยที่หน้าเว็บไซต์
(ซึ่งอันตรายพอควร) เป็นเรื่องจำเป็น..... "เพื่อความโปร่งใสในการค้าขาย..."
....แต่กลับไม่ได้แสดงความโปร่งใส-กว่า-ด้วยการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กันเท่าที่ควรจะเป็น 

การให้ความรู้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อของบนอินเตอร์เน็ตนั้น ยังไม่เคยถูกทำอย่างเป็นทางการ
E-Commerce ในระดับ "ร้านค้าออนไลน์" นั้น เหมือนจะถูกแตะต้องเพียงผิวเผินจากภาครัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา
เพราะเรามักจะเห็นคำว่า "นักเล่นเน็ต" ....ถูกหยิบมาใช้มากกว่าคำว่า "ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต" โดยทั่วไป



...ซึ่งอีคอมเมิร์ซดูเหมือนเป็นเรื่องที่วิวัฒนาการมาจากการเปิดท้ายขายของ
(ช่วงต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540) ตามมาด้วยตลาดการลงประกาศขายสินค้ามือสองบนอินเตอร์เน็ต 
(ซึ่งเว็บดังๆ ก็ยังอยู่ยั้งยืนยงมาจนถึงวันนี้) ซึ่งเป็นพาณิชยกิจเชิง "กรรมสิทธิ์" ...ไม่ใช่การทำเป็นกิจการจดทะเบียนฯ อะไรนัก...

มรดกตกทอดเรื่องการจ่ายค่าสินค้าด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีฯ (โดยมากเป็นบัญชีฯ ส่วนบุคคล)
จึงได้รับการสืบทอดมา และกลายมาเป็นประเพณีก็ว่าได้ .......เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่
ยังนิยมที่จะซื้อสินค้าจาก "เว็บบอร์ดสาธารณะ" กันอยู่นั่นเอง

การค้าแบบเป็นกิจจะลักษณะ (แต่ไม่จดทะเบียนพาณิชย์) โดยที่ผู้ค้าไม่มีเว็บไซต์เป็นหลักแหล่งนั้น
โดยมากเป็นไปเพราะลูกค้ามักต้องการใช้ประโยชน์จากราคาสินค้ามือสอง
เพื่อมาตัด (ต่อ) ราคาของสินค้ามือหนึ่งนั่นเอง... และมีไม่น้อยที่เป็นลักษณะแบบ Business to Business

และด้วยว่าต้นทุนรวมของกิจการแบบจดทะเบียนฯ นั้นค่อนข้างสูง......
  • เว็บแบบ E-Marketplace (ตลาดนัดอิเล็กทรอนิกส์) ดังๆ อย่าง "Ebay" นั้นจึงยังคงติดลมบน และยังเป็นที่... "เค้าว่ากันว่า" ของอีกหลายๆ คน ..ว่าการจะหันพังงาเรือชีวิตเข้าสู่น่านน้ำมหาสมุทรอีคอมเมิร์ซ จะต้องไปเริ่มต้นที่นั่น.......
และ "ที่นั่น" ..ก็ได้นำนวัตกรรมการชำระเงินรูปแบบใหม่มาให้เป็นที่รู้จักของผู้ค้าชาวไทย


"PayPal"




TO BE CONTINUE..............................................





วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการตั้งชื่อโดเมนเนม


  • หากท่านยังไม่เคยทำกิจการใดๆ มาก่อน และ่ท่านตั้งใจที่จะเริ่มต้นมีกิจการของตัวเอง โดยเป็นกิจการแบบ E-Commerce ตั้งแต่แรก.... กรณีนี้อาจต้องยอมที่จะตั้งชื่อโดเมนเนม ก่อนชื่อกิจการครับ โดยใช้วิธี "ตั้งชื่อใหม่ๆ และตรวจสอบไปเรื่อยๆ" ....และหากได้ชื่อที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่นแล้ว ก็ให้จดเอาไว้เลือกอีกครั้งครับ (ลองตั้งหลายๆ ชื่อครับ)
  • หากชื่อโดเมนเนมมีคำศัพท์ทั่วไปที่คนรู้จักและพิมพ์ (สะกด) ได้ง่าย ที่บอกเกี่ยวกับธุรกิจของเรา เช่น สินค้าเกี่ยวกับดนตรีก็อาจใช้คำว่า music หรือ sound หรือ sonic ฯลฯ บวกกับชื่อเฉพาะของกิจการ (แบรนด์ของเรา) จะทำให้โดเมนเนมเองสามารถเป็น "เป้า" ของการเซิร์ชไปโดยตัวมันเองได้ด้วย
  • การใช้ชื่อที่เฉพาะเจาะจงอย่างชื่อบุคคลที่อาจมีความซับซ้อนทางการสะกด อาจประสบปัญหาต่อลูกค้าเองได้ (ถ้ายากต่อการจดจำ)
  • การเจตนาที่จะนำเอาโดเมนเนมมาทำเป็น Branding เลย จะเพิ่มความยากในขั้นตอนการตั้งชื่อนี้ให้มากขึ้น.... เพราะที่สุดแล้วท่านอาจได้ชื่อที่ยาวจนเกินจดจำ (กรณีนี้ชื่อไม่ควรยาวกว่า 4 พยางค์ครับ และถ้าอยากให้คนพูดต่อท้ายว่า "ดอท..." ของเว็บท่านด้วยแล้ว ชื่อควรจะต้องสั้นกว่า 4 พยางค์ลงมาอีกครับ)
  • พยายามใช้ตัวอักษรและรูปสระแบบธรรมดาที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการตั้งชื่อเฉพาะขึ้นใหม่ เช่น ebay, google, yahoo, facebook ซึ่งบางชื่อเป็นชื่อเฉพาะ แต่การสะกดและสระที่ใช้จะธรรมดามาก มากพอที่คนทั่วไปจะพิมพ์ได้เองเพียงแค่ได้ยินเฉยๆ ด้วยซ้ำ
  • ชื่อบางชื่ออาจเท่ แต่ถ้าสะกดยากก็ต้องยอมปล่อยผ่านไปครับ


  • หากท่านมีกิจการภายนอกอยู่ก่อนแล้ว.... การตั้งชื่อโดเมนเนมคงหนีไม่พ้นต้องถอดมาแบบเป๊ะๆ หรืออย่างน้อยต้องเลียบๆ เคียงๆ ชื่อกิจการจริงให้ได้ (ซึ่งกรณีนี้ถึงกับทำให้หลายกิจการต้องยอมทำ Re-Branding (รี-แบรนด์ดิ้ง, ปรับตั้งชื่อกิจการใหม่) มาแล้วหลายรายครับ) หากชื่อกิจการเดิมเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วสะกดยาก เราแนะนำว่า "ไม่ต้องอิงชื่อกิจการมากนัก" จะดีกว่าครับ
  • ท่านอาจลองนึกถึงเว็บไซต์ที่จะสร้างขึ้นในทิศทางที่ว่า "มันเป็น-แผนกหนึ่ง-" ของกิจการเดิม ก็เป็นทิศทางที่น่าสนใจครับ ...คือเป็นแผนกจำหน่ายออนไลน์เสริมกับหน้าร้านดั้งเดิมไป (ถ้าท่านตั้งใจให้เว็บไซต์ท่านเป็นช่องทางจำหน่ายทางหนึ่งนะครับ) <<<<< ในแบบนี้ ท่านอาจตั้งชื่อ "แผนก" โดยไม่อิงถึงชื่อกิจการเลยก็ได้ครับ

การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้น สามารถมีมูลค่าทางการตลาดได้อย่างมหาศาล ท่านอาจลองนึกถึงโดเมนเนมของผู้ริเิริ่มโครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์นี้ดูก็พอจะเป็นตัวอย่างได้ครับ ว่าโดเมนเนมที่ชื่อ "Google" นั้น มีมูลค่าทางการตลาดสักกี่พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ




วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ควรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนหรือหลังมีเว็บไซต์

สำหรับทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ....จดแจ้งทีหลังครับ แม้จะไม่เคยจัดตั้งกิจการมาก่อน
กิจการที่ก่อตั้งมาโดยปรกติ (มีทะเบียนพาณิชย์) ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายหลังเช่นกัน
ซึ่งกิจการภายนอกที่เคยจดแบบปรกติมาก่อนแล้วนั้น
ในส่วนของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการ "จดเสริม" ให้กับทะเบียนพาณิชย์เดิมของกิจการปรกติภายนอกอินเตอร์เน็ตครับ


แบบฟอร์มคำร้องขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น
จะมีการต้องกรอกในรายละเอียดของโดเมนเนมเว็บไซต์เป็นเบื้องต้น ท่านจึงควรมีโดเมนเนมเสียก่อนครับ
....ต่อมาคือรูปแบบการสั่งจอง/สั่งซื้อของลูกค้า (ธุรกรรมสัญญา) ว่าปฏิบัติในทิศทางใด
(เช่น มีแบบฟอร์มออนไลน์, ตะกร้าสินค้า, สั่งซื้อทางอีเมล, โทรศัพท์)
.......และถัดมาก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สุด คือ "วิธีการชำระเงิน" ที่จะแยกแยะได้ง่ายๆ ดังนี้ครับ

  • การส่ง/รับ "เงินสด-ระหว่างผู้ค้าและลูกค้าโดยตรง" โดยไม่ผ่านสื่อกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ =  "ทะเบียนพาณิชย์"
  • การส่ง/รับเงินโดยผ่านสื่อกลาง+ธุรกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ =  "ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์"

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

เพราะฉะนั้นในการ-จะ-จดทะเบียนพาณิชย์ "อิเล็กทรอนิกส์" ท่านจึงต้อง.....

  • มีโดเมนเนมของตัวเองหรือของกิจการเสียก่อน แม้จะยังไม่ได้หาให้มีซึ่งโฮสท์หรือระบบเว็บไซต์ใดๆ เลยก็ตาม (ชื่อร้านอาจตั้งหลังมีโดเมนเนมก็ได้นะครับ)
  • มีเว็บไซต์และเปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้แล้ว เพราะการนำจดฯ เจ้าหน้าที่อาจต้องสังพิมพ์หน้าเว็บไซต์เพื่อเป็นเอกสารประกอบด้วยครับ (บางท้องที่ท่านอาจต้องพิมพ์เตรียมไปเองครับ)
  • ต่อให้มีตัวเว็บแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีรายได้ก้อนแรกเกิดขึ้น ก็ยังไม่ต้องจดฯ ก็ได้ เมื่อเกิดรายได้ก้อนแรกขึ้นจริง จึงให้ดำเนินการจดฯ ภายใน 30 วัน (หรือหากต้องการจดฯ ทั้งที่ยังไม่มีรายได้ก็สามารถทำได้ครับ เพื่อความน่าเชื่อถือต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์)
  • ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดาก่อน หากท่านยังไม่เคยจดจัดตั้งกิจการใดๆ มาก่อน ท่านสามารถเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ตรงๆ ได้เลย (หากกิจการนั้นเน้นในเรื่องการสั่งซื้อหรือธุรกรรมสัญญาและมีการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติครับ และไม่ใช่กลุ่มสินค้าหรือกิจการที่มีการห้ามตามกฏหมายเอาไว้) สามารถมีทั้ง Office และอาคารสำหรับเป็นคลังสินค้า สามารถมี "หน้าร้านในลักษณะโชว์รูม"

(ซึ่งท่านอาจออกแบบตัวร้านให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
สำหรับให้ลูกค้าใช้ซื้อและชำระเงินก็ได้
ถือว่าอยู่ในนิยามของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครับ
ไม่จำเป็นต้องเชิญลูกค้ากลับบ้านก่อนแล้วสั่งซื้อเข้ามา)

ส่วนหน้าร้านแบบปรกติที่ซื้อขายรับ "เงินสด" ด้วยมือกันนั้น จะเป็นทะเบียนพาณิชย์ (เฉยๆ) ครับ สามารถมีเว็บไซต์ไว้ประชาสัมพันธ์ได้โดยไม่ต้องจดฯ ครับ

    ----------------------------------------------------------------------

    ลักษณะเด่นของกิจการแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ การที่เงินของลูกค้าจะสัมพันธ์/วิ่งตรงเข้าสู่บัญชีธนาคารโดยตรง
    เนื่องจากมักถูกใช้เป็นปลายทางของสื่อกลางการรับชำระทางอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป
    ...จะไม่ใช่การที่เงินสดเข้าสู่ตัวร้านก่อนอย่างกิจการพาณิชย์ปรกติครับ

    ท่านสามารถลองอ่านเพิ่มเติมด้วยข้อมูลจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
    เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมครับ คลิกที่นี่






    ก่อนการสมัครเข้าโครงการโกออนไลน์

    ท่านควรต้องทราบความหมายของ 2 คำนี้ก่อนครับ

    1. บุคคลธรรมดา - ซึ่งสมัครเพื่อขอรับสกุลโดเมน .in.th .....การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นบุคคลทั่วไปสามารถจดทะเบียนพาณิชย์แล้วอยู่ในสถานะบุคคลธรรมดาได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ A.กิจการเจ้าของคนเดียว และ B.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
    2. นิติบุคคล - ซึ่งสมัครเพื่อขอรับสกุลโดเมน .co.th .....เริ่มกันที่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด และบริษัทจำกัดมหาชน
    ในแง่ของ "บุคคลธรรมดาซึ่งมีการประกอบพาณิชยกิจ" นั้น ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่ได้หมายถึงว่าใครทำกิจการค้าอะไรแล้วไม่ต้องจดแจ้ง ....และในมุมของ "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" นั้นก็เช่นกัน หากเว็บไซต์ของบุคคลใดที่มีกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดรายได้ขึ้น ก็จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์เสียภายใน 30 วัน นับจากวันที่เกิดรายได้แรก

    หากท่านเข้าร่วมโครงการและทำการสมัครเพื่อรับโดเมนสกุล .in.th และได้ทำเว็บไซต์ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ท่านก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครับ

    ส่วนนิติบุคคลนั้น ย่อมมีการต้องจัดตั้งและดำเนินการทางกฏหมายมาก่อนแล้ว (เพื่อให้เป็นนิติบุคคล) และการสมัครขอรับโดเมนสกุล .co.th กับทางโครงการ ท่านก็ต้องใช้เอกสารหรือทะเบียนพาณิชย์ใดๆ นั้น เพื่อยืนยันความเป็นนิติบุคคล และใช้เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติโดเมนเนมในโครงการอยู่แล้วโดยลำดับครับ




    Announcement

    สวัสดีครับ

    นี่คือเว็บบล็อกโดยหน้า Facebook Page: GoOnlineGuide เพื่อเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมสำหรับเนื้อหาต่างๆ
    เนื่องจากหน้าเพจของเฟซบุ๊คนั้นค่อนข้างแคบ ทำให้อ่านยากเกินไป
    และไม่เหมาะกับบทความที่มีความละเอียดในเนื้อหามากๆ นักครับ

    ทั้งบล็อกและ FB เพจของเรา สร้างขึ้นก็เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสมาชิกโครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์
    (GoOnline: www.goonline.in.th) ทั้งเรื่องทั่วไป, การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, การเรียนรู้สารบบของ Google Apps,
    เรียนรู้การทำงานของระบบเว็บไซต์จาก Webiz และอื่นๆ

    เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลของเราบนบล็อกแห่งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ไม่มากก็น้อยครับ