วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้เว็บบิสอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1.

อันที่จริงข้อสรุปที่เราจะนำเสนอนี้ ใช้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้ทุกกิจการเลยครับ.

กลไกสำคัญของการที่อีคอมเมิร์ซจะไปรอด คือช่องทางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ. ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีมาตรแบบตายตัวครับ จะขึ้นตรงกับ "สภาพแวดล้อมในการเข้าถึงหน่วยบริการทางการเงินของท่าน". โดยตัวอย่างด้านล่างนี้จะอธิบายถึงความเหมาะสมในรูปการณ์ที่แตกต่างกันไป.

  • ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี - ใกล้ตู้ ATM / ใกล้ธนาคาร / ธนาคารที่ท่านใช้อยู่มีระบบบัญชีออนไลน์สามารถตรวจสอบผ่านอินเตอร์เน็ต.
  • ชำระเงินสด - หน้าร้าน (ท่านใช้เว็บไซต์ในฐานะ "แคตตาล็อกแสดงสินค้า-ราคา-ที่ตั้งร้าน" โดยระบุว่าลูกค้าทำการชำระค่าสินค้าที่หน้าร้านเท่านั้น และกรณีนี้ท่านควรจำกัดขอบเขตพื้นที่บริการหากมีการนำส่งสินค้าถึงสถานที่, กรณีนำส่งถึงสถานที่ ท่านควรต้องพิจารณาการให้ลูกค้าชำระเงินสดแก่พนักงานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้วย, บางท่านกับสินค้าที่พกพาได้ ในบางพื้นที่พบว่ามีการ "นัดพบ" กับลูกค้าในสถานที่ที่สะดวกต่าง ๆ.
  • ชำระผ่านระบบตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PayPal, PaySbuy - เมื่อลูกค้าชำระด้วยยอดในบัญชีกลุ่มนี้ ท่านจะได้รับเงินค่าสินค้าทันทีในรูปของ "ตัวเลขทางบัญชี". เงินลักษณะนี้ไม่ควรถอนออกเป็นเงินสดหรือเข้าสู่บัญชีธนาคารหากไม่มีความจำเป็น ควรเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายออกไปในรูปตัวเลขอย่างนั้นจะดีกว่า. (อันที่จริงในส่วนนี้ หมายรวมถึงระบบตัวเลขทางบัญชีของธนาคารเองด้วยครับ ไม่ควรถอนออกมาในรูปเงินสดโดยไม่จำเป็น ถ้าท่านต้องการใช้เงินสดควรใช้ผ่าน "บัตรเดบิต" ..เพียงแต่โดยทั่วไปธนาคารในประเทศไทยไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการถอนเงินนัก ชาวไทยโดยปรกติจึงไม่พบว่าการถอนเงินสดบ่อยจะเป็นปัญหา)
  • ตั๋วแลกเงิน, ธนาณัติ ฯลฯ  - ท่านควรอยู่ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ครับ.
ข้างต้นนี้เหมือนเรื่องที่ต้องคิดตอนท้าย เพราะเจ้าของเว็บส่วนใหญ่มักคิดเรื่องว่าจะขายอะไรก่อน แต่กับฝั่งผู้ซื้อแล้วเรื่องนี้สำคัญมากครับ เพราะถ้าหากวิธีชำระที่ทางร้านกำหนดไว้สะดวกกับฝั่งลูกค้าด้วย (ลูกค้าชาวไทยโดยมากชอบจ่ายเงินสด) ก็จะดึงดูดความสนใจได้มากครับ.

ภายในโครงการเว็บบิส ทุกท่านต้องไม่ลืมนะครับ ว่าได้มีในส่วนของ "PaySbuy" (เพย์สบาย) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ได้เตรียมไว้ให้ ซึ่งเราได้เคยเขียนบทความถึงไว้ด้วยครับ "บุคคลธรรมดากับเพย์สบายธุรกิจ" ..ที่นำเอารูปแบบการรับชำระด้วยเงินสดที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่คนทั้งประเทศคุ้นเคยเป็นอย่้างดีมาให้ได้เลือกใ้ช้กันด้วยนั่นเองครับ

ในตอนที่สองในซีรี่ส์ของการสรุปนี้
จะกล่าวถึงการออกแบบเว็บไซต์โดยรวม ๆ ครับ และแยกเป็นกรณีคล้าย ๆ กับในบทความชิ้นนี้ด้วยครับ

อย่าลืมติดตามนะครับ

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ในบล็อกเวอร์ชันปัจจุบัน..

Go Online Guide for Thai เวอร์ชั่นปัจจุบันจะขยายขอบเขตให้เนื้อหาครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิมครับ. แต่เดิมจะเกี่ยวกับโครงการ "ธุรกิจไทยโกออนไลน์" โดยเฉพาะ ..แต่เวอร์ชั่นใหม่นี้จะขยายไปสู่เนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโลกอินเตอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น และตอบสนองต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับผู้อ่านได้ทุกกลุ่มครับ

แน่นอนว่าบทความจะเป็นบทความที่มีเนื้อหาเชิงวิเคราะห์เช่นเดิม
เพื่อให้มีประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้จริง

ในส่วนชื่อของบล็อกนี้ ยังคงใช้ชื่อเดิม แต่ความหมายจะเปลี่ยนไปเป็นบล็อกที่จะแนะนำการทำอีคอมเมิร์ซ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ฯลฯ คือเป็นบล็อกสำหรับผู้อ่านที่ต้องการความรู้สำหรับใช้ชีวิตในยุคอินเตอร์เน็ตติดตามตัวอย่างทุกวันนี้ ซึ่งเราจะนำเสนอบทความในแง่มุมต่าง ๆ ที่สดใหม่ทางวิธีคิด และไม่ให้ซ้ำกับบล็อกหรือเว็บไซต์อื่น ๆ ..เพื่อ "เติมเต็ม" โลกอินเตอร์เน็ตภาษาไทย ให้มีคุณภาพที่ดี

รูปแบบก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของ "แม็กกาซีนออนไลน์" ซึ่งจะแบ่งเป็นสารบัญหรือคอลัมน์ให้ผู้อ่านสามารถติดตามได้โดยง่าย ..โดยที่จะแยกเมนูเก่าที่เกี่ยวกับโครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์ไ้ว้ในตำแหน่งเฉพาะ เพื่อให้ผู้อ่านเดิมและผู้ที่อาจเป็นสมาชิกใหม่ของโครงการยังคงมีบทความชิ้นเดิมรองรับอยู่ตลอดครับ




ในบล็อกเวอร์ชันก่อนหน้า..

Go Online Guide for Thai



  • โครนอสมิวสิคแฟชั่น CHRONOS MUSIC FASHION™: Cyber Entertainment Business of Thailand ต้นสังกัดของแผนกรับจัดเวิร์คช็อปส่วนบุคคลฯ "Zelinth©"   ได้เล็งเห็นว่า "โครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์" ของ Google™ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยนี้ จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้มาก
  • เราจึงได้เลือกจะทดลองใช้ระบบของโครงการฯ นี้ กับแผนกเวิร์คช็อปดังกล่าวของเรา ทั้งในแง่ประโยชน์การใช้งานของแผนกเอง ด้วยว่าทั้งโครงสร้างของโครนอสมิวสิคแฟชั่น® นั้น จดทะเบียนฯ และเป็น "REAL CYBER BUSINESS" มาตั้งแต่ต้น เราจึงใช้เว็บไซต์และอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นปรกติ
  • ในมุมของแผนกเวิร์คช็อปเราเองนั้น ก็จึงนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะกับการเปิดแผนกขึ้น และได้มีโครงการฯ นี้เข้ามาในประเทศไทยพอดีกัน เราจึงตัดสินใจจะทดลองระบบใหม่ๆ ด้วยเห็นว่าระบบเว็บไซต์ของ Webiz นั้นสร้างขึ้นบนมาตรฐาน HTML5 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของเว็บไซต์ในระดับสากล และความที่ Zelinth© เอง ก็ได้มีเวิร์คช็อปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอีคอมเมิร์ซอยู่ก่อนแล้ว เราจึงตัดสินใจให้ทางแผนกฯ สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อค้นคว้าข้อมูลการใช้งานด้านต่างๆ ของระบบเว็บไซต์ในโครงการฯ นี้ ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะแบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเวิร์คช็อปที่รับจัดอยู่ตามปรกติของแผนกฯ
  • และเราจึงได้ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบแต่แรกว่า อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ "โครงการธุรกิจไทยโกออนไลน์" จากทางเรานั้น สามารถติดตามได้ "ฟรี" ทั้งที่ facebook Pages ในตอนแรก และที่บล็อกแห่งนี้ เท่านั้น.

เราคาดหวังว่าสาธาณะจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย
จากการตัดสินใจและลงมือทำของเราในครั้งนี้
สิ่งใดที่ถูกต้องและบกพร่องเราก็จะกล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมา
และเราเองก็น้อมรับคำทักทาย-คำแนะนำที่เข้ามา อยู่เสมอเช่นกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงไปด้วยกันอย่างที่สุด
สร้างอีกทิศทางที่น่าสนใจให้กับประชากรอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้มั่นคงขึ้น
เพื่อรับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่นานจากนี้

ด้วยความปรารถนาดีจากโครนอสมิวสิคแฟชั่น™

THANK  YOU






- เกี่ยวกับโครงการอันเป็นที่มาของเว็บบล็อกนี้ในตอนเริ่มต้น..


www.goonline.in.th   ธุรกิจไทยโกออนไลน์ เป็นโครงการในความดูแลของ Google และพันธมิตร ทั้งหน่วยงงานรัฐฯ และเอกชน เพื่อให้ผู้ประกอบการชาวไทยได้ก้าวเข้าสู่โลกอันไร้พรมแดนของอินเตอร์เน็ต มีโอกาสเข้าถึงและนำเสนอตนเองต่อประชากรทั่วโลก ข้ามขีดจำกัดของพื้นผิวโลกที่จะประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนได้รู้จัก และกระทั่งเกิดธุรกรรมกันได้จริง เปิดศักราชใหม่ของกิจกรรม "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ของประเทศไทยให้ก้าวได้อย่างเต็มรูปแบบ