วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ระหว่าง Gmail ปรกติ VS. Gmail ในโปรแกรมกูเกิลแอปส์.

จุดหลักของโปรแกรมกูเกิลแอปส์ (Google Apps) นั้น อยู่ที่การที่ คุณใช้โดเมนเนมของเว็บไซต์คุณเอง (ซับโดเมน - โดเมนเนมย่อยที่ไม่ใช่ www นำหน้า แต่ตั้งเป็นอย่างอื่นไว้ เช่น www2, mail, calendar หรือคำใด ๆ ก็ตามแต่ครับ) กับบริการต่าง ๆ ของกูเกิลได้เกือบทุกอย่าง คือ ไม่ต้องอยู่ภายใต้โดเมนของกูเกิลเลย
ซึ่งก็คือคุณสร้างจักรวาลของกิจการของคุณเองได้ เป็นซับโดเมนย่อยของคุณเองทั้งหมด แม้ว่าคุณจะใช้บริการต่าง ๆ ของทางกูเกิลอยู่ก็ตามครับ (ไม่ต้องใช้ทุกอย่างภายใต้ google.com) นี่คือประเด็นของ "กูเกิลแอปส์".


------------

ส่วนการใช้บริการต่าง ๆ ของกูเกิลตามปรกตินอกโปรแกรมกูเกิลแอปส์นั้นหมายความตรง ๆ ถึง..

  • ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปรกติที่ไม่ได้มีโดเมนเนมเป็นของตัวเอง / ไม่ได้ทำเว็บไซต์
  • คุณสามารถใช้บริการเซิร์ชเอ็นจินของกูเกิลได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกของกูเกิล
  • คุณสามารถใช้บริการเซิร์ชเอ็นจินและบริการอื่น ๆ ของกูเกิลได้โดยสมัครเป็นสมาชิกของกูเกิลได้ฟรีตลอดกาล [ซึ่งกูเกิลจะบันทึกไว้เป็นฐานข้อมูลสมาชิก เรียกว่า Google Accounts (กูเกิลแอคเคาท์) (เป็นเรื่องปรกติไม่ต่างกับผู้ให้บริการอื่น ๆ เช่น facebook, twitter และเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิกต่าง ๆ ..แต่คุณสามารถใช้ส่วนของกูเกิลเซิร์ชและเป็นผู้ชมบริการ YouTube ได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก่อนครับ)]
ซึ่งปัจจุับันการเป็นสมาชิกของกูเกิลภาคสาธารณะชนนี้ บัญชีผู้ใช้ (โปรไฟล์เนมพื้นฐาน) จะอยู่ในรูปของอีเมลแอดเดรส ..ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อนานมาแล้วกูเกิลยังไม่มีบริการอีเมลให้ใช้ การสมัครสมาชิกกูเกิลแอคเคาท์เวลานั้นจึงยังไม่ได้เกี่ยวกับอีเมลของกูเิกิลเองแต่อย่างใด (เพราะยังไม่มี) สามารถใช้อีเมลเจ้าอื่น ๆ ที่คุณมีอยู่มาสมัครได้เลย [อีเมลถือเป็นของส่วนตัวที่สุด จึงมักใช้เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยปรกติ. นั่นหมายถึงว่า เว็บไซต์โดยมากไม่ได้ให้บริการอีเมลนั่นเอง ซึ่งกูเกิลเวลานั้นก็เช่นกันครับ]

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ กูเกิลมีบริการอยู่หลากหลายยกเว้นอีเมล โดยนโยบายการสมัครสมาชิกจึงสามารถรองรับอีเมลแอคเคาท์จากผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ที่ผู้ต้องการสมัครได้ใช้อยู่ก่อนนั้น เข้ามาสมัครได้ตามปรกติในฐานะที่กูเกิลเองก็เป็นเว็บไซต์ทั่วไปเว็บไซต์หนึ่ง (เช่นการที่เราสมัครเป็นสมาชิก facebook โดยการเอาอีเมลอะไรก็ได้ไปสมัครนั่นเองครับ เหมือนกัน) (ในย่อหน้าถัดไปเราจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน facebook เองก็ทำไม่ต่างจากกูเกิล คือต้องริเริ่มให้บริการอีเมลของตัวเองขึ้นมา แต่จากจำนวนสมาชิกเฟซบุคในปัจจุบัน การคะเนว่าเฟซบุคจะใช้แต่อีเมลของตัวเองอย่างเดียวเช่นกูเกิลนั้น ดูจะเสี่ยงกับการเสียสมาชิกไปสักหน่อยครับ)

เมื่อถึงปี 2007 ที่กูเกิลเปิดให้บริการอีเมลแก่สาธารณะชนในนาม Gmail. ก็ถึงเวลาที่กูเกิลสามารถจะมีแหล่งยืนยันตัวบุคคลให้แก่สมาชิกของกูเกิลเองแบบเป็นทางการ และเพื่อให้สมาชิกมีความสะดวกเมื่อได้ไซน์อินอยู่ในสารบบของกูเกิลแล้ว จึงได้ยกเลิกการอ้างอิงอีเมลเจ้าอื่น ๆ ลงในเวลาต่อมา เพื่อให้สมาชิกได้ไซน์อินครั้งเดียวแล้วสามารถมีอีเมลให้ใช้ได้ด้วย (ซึ่งจริง ๆ จะไม่ทำการอย่างนี้ก็ได้ครับ แต่อุปสรรคมาจากการที่ผู้ประกอบการอีเมลอื่นไม่ตกลงกันทางธุรกิจกับกูเกิล กูเกิลจึงต้องตัดการรองรับอีเมลเจ้าอื่นออกไป และเปิดให้มีบริการอีเมลของตัวเองแก่สมาชิกแทน)

เว็บไซต์ใด ๆ ก็ตามที่มีการสมัครสมาชิกนั้น ในทางปฏิบัติเชิงเทคนิคแล้ว จัดเป็น "โซเชียลเน็ตเวิร์ค" (social network, เครือข่ายสังคมออนไลน์) ทั้งสิ้น. เช่น อีเมล, เว็บบอร์ด, บล็อก, โปรแกรมสนทนา/แชท            ซึ่ง Google.com เองก็เป็นเว็บไซต์เช่นเดียวกัน (และบริการเซิร์ชเอ็นจินที่เปิดเป็นบริการสาธารณะนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกแต่อย่างใด) บริการในส่วนที่ใช้งานแบบแสดงข้อมูลเสนอส่วนบุคคลเป็นหลักจึงจะต้องเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลในนามสมาชิก

ปัจจุบันสมาชิกของกูเกิลจึงมี 2 รูปแบบ
  1. บริการสาธารณะที่ฟรี ถือบัญชี ชื่อคุณ@gmail.com [สมัครโดยกรอกแบบฟอร์มเปิดบัญชีอีเมลของกูเกิล]
  2. บริการสาธารณะที่คิดค่าบริการ ถือบัญชี ชื่อคุณ@ชื่อโดเมนเว็บไซต์คุณ.อะไร.ของคุณนั่นเอง [สมัครโดยให้ข้อมูลโดเมนเนมเว็บไซต์ของคุณ โดยเขียน record เพิ่มเติมที่เนมเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโดเมนของคุณ เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลได้ตรวจสอบข้อมูลการถือครองว่าคุณเป็นเจ้าของจริง] ซึ่งข้อนี้คือ Google Apps ครับ.
ต่างกันที่คุณต้องการใช้บริการต่าง ๆ ภายใต้โดเมนของ Google ..
หรือใช้บริการต่าง ๆ ภายใต้โดเมนของคุณเองนั่นเองครับ.

------------

คุณต้องการนำเสนอภาพลักษณ์องค์กรมากแค่ไหน..?

ถ้าต้องการนำเสนอออกไปมาก ก็เลือกใช้กูเกิลแอปส์ได้ครับ ..แน่นอนว่ามีค่าบริการตามมา ซึ่งในกรณีที่คุณเป็นกิจการขนาด SME หรือกระทั่งเป็นฟรีแลนซ์ที่ทำงานคนเดียว อาจไม่ได้ต้องการนำเสนอภาพลักษณ์ขนาดนั้น. ซึ่งคุณอาจต้องการทำแค่ เป็นเจ้าของโดเมนเนม+เว็บไซต์ตัวเองเป็นหลัก ก็เลือกใช้บริการ gmail ปรกติก็เพียงพอครับ โดยคุณอาจสร้างอีเมลชื่อเดียวกับกิจการของคุณขึ้นมา@gmail.com ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะก็สามารถเข้าใช้บริการต่าง ๆ ได้ทั้งหมดเหมือนกัน (แบบฟรี ๆ)

จะดูไม่สะดวกตรงการนำเสนอลิงค์ต่าง ๆ จากบริการบางตัวของกูเกิลให้กับผู้ร่วมงานด้วยกันเท่านั้นเองครับ เพราะ url จากกูเกิลอาจยาวไปบ้างในหลายโอกาสครับ แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมากมายอะไรครับ :)



.......


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เคารพสิทธิผู้อื่น และอยู่ในกรอบพรบ.ICT เชิญครับ.